“เลือดกำเดาไหล” อาจเสี่ยง 4 โรคอันตราย

สัญญาณอันตรายของโรคร้ายจากอาการ “เลือดกำเดาไหล” มีอะไรบ้าง

รศ. พญ.ดารินทร์ ซอโสตถิกุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า เลือดกำเดาไหล (Epistaxis) คือภาวะเลือดออกทางจมูก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ภาวะเลือดออกทางจมูกด้านหน้า และภาวะเลือดออกทางจมูกด้านหลังโพรงจมูก ซึ่งส่วนใหญ่มักมีสาเหตุที่อันตรายกว่าภาวะเลือดออกทางจมูกด้านหน้าดังนั้นเมื่อเลือดกำเดาไหล อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของโรค เช่น

เนื้องอก
สาเหตุ: มะเร็ง หรือเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่มีเส้นเลือดมาเลี้ยง เกิดขึ้นในจมูก ไซนัส หรือหลังโพรงจมูก

อาการ: เลือดออกเป็นบางครั้ง หรือเลือดออกจมูกปริมาณมากควรส่องกล้องตรวจโพรงจมูก หรือเอกซเรย์เพื่อตรวจวินิจฉัย

การระคายเคือง หรือบาดเจ็บในจมูก
สาเหตุ: แคะจมูกบ่อย ได้รับแรงกระแทกที่จมูก สั่งน้ำมูกแรงๆ อากาศแห้งความกดอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ขึ้นเครื่องบิน

อาการ: เลือดมักออกไม่มาก และเป็นระยะเวลาสั้นๆ อาจมีเลือดออกช้ำในช่วงที่ใกล้หาย

การอักเสบในโพรงจมูก
สาเหตุ: จากการติดเชื้อไวรัส ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ใช้เครื่องอัดอากาศขณะหลับ

อาการ: มีเลือดออกปนมากับน้ำมูก

ความผิดปกติทางกายวิภาค
สาเหตุ: ผนังกั้นช่องจมูกคด หรือมีกระดูกงอกผิดที่ รวมถึงมีรูทะลุทำให้เกิดความไม่สมดุลของอากาศ

อาการ: เลือดมักไหลในจมูกข้างเดิม และเป็นซ้ำในจุดที่ผนังกั้นช่องจมูกคดหรือมีกระดูกงอก

ข่าวอื่นๆ การจำกัดช่วงเวลากินอาหารเป็นประโยชน์ต่อคนทำงานเป็นกะ